當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的?

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的?

推薦人: 來源: 閱讀: 1.19W 次

大家在學習泰語詞彙蝴蝶的時候一定疑惑,明明這麼好看的蝴蝶,怎麼會叫ผีเสื้อ呢?它和“鬼”有什麼關係呢?今天,我們就來幫助大家解答這個疑惑,看看好看的蝴蝶究竟是怎麼被冠上這個嚇人的名字的。

ing-bottom: 52.19%;">【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的?

文章帶讀:
(音頻-可在本站泰語公衆號上收聽)
朗讀:(泰)ฟ้าใส

เคยสงสัยหรือไม่ว่า “ผีเสื้อ” สัตว์ที่มีสีสันลวดลายบนปีกสวยงามชนิดนี้ ทำไมจึงถูกเรียกว่า “แมลงผีเสื้อ” มันเกี่ยวข้องกับ “ผี” อย่างนั้นหรือ?
大家有沒有奇怪過,像 蝴蝶這種翅膀上有美麗花紋的動物,爲什麼會被叫“แมลงผีเสื้อ”(合成詞構成:昆蟲+鬼+衣服),它和“ผี”有什麼關係呢?

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的? 第2張

“เสื้อ” หรือ “ผีเสื้อ” เป็นผีในคติความเชื่อของกลุ่มชนไต-ไท สันนิษฐานว่า ผีเสื้อเป็นผีพื้นเมืองเก่าแก่ในอุษาคเนย์ มีมาก่อนการมาถึงของศาสนาพราหมณ์และพุทธ มีลักษณะเป็น “ผีโลกาภิวัตน์” ประเภทหนึ่งก็ว่าได้ เพราะถูกแปรเปลี่ยนปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของสังคมในแต่ละคติความเชื่อ แต่ละพื้นที่ แต่ละยุคสมัย
“เสื้อ” 或“ผีเสื้อ” 是臺語民族民俗學中的一種鬼,根據推測,ผีเสื้อ是東南亞一種古老的鬼怪,甚至在婆羅門教和佛教傳入之前就有了,可以說是一種“國際化”的鬼怪,因爲根據各 個信仰、各個地區、各個時代不同社會環境在不斷變遷。

ผีเสื้อปรากฏในหลักฐานโบราณหลายประเภท เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “พ่อเชื้อเสื้อคำมัน”, ในจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ว่า “(ผี) มัน ทั้งเสื้อใหญ่…”, ในนิทานของไทอาหม กล่าวถึงเทวดานามว่า ปู่ผีเสื้อ, ในไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง ท้าววิรุฬหกมีบริวารเป็นกุมภัณฑ์และผีเสื้อ หรือคนตายเป็นเปรต พ้นจากเปรตแต่ยังมีเศษบาปอยู่ ต้องกลับมาเป็นผีเสื้ออีกห้าร้อยชาติ”
ผีเสื้อ這種鬼怪出現在了很多古老的證據中,在蘭甘亨石碑第一面提到“去世的父親”,在Pu Khun Jit Khun Jort石碑中提到“大鬼”,在阿洪姆人人的民間故事中也提到了叫“ ปู่ผีเสื้อ”的神,在《三界經》中提到了增長天王成爲了กุมภัณฑ์和ผีเสื้อ,死去的人變成餓死鬼,從餓死鬼脫離出來還存在參與的業障,還要在接下來的五百世中變成ผีเสื้อ。

ผีเสื้อจึงเป็นผีที่ “variety” มาก มีทั้งที่เป็นลักษณแบบผีปู่ผีย่า ผีบรรพบุรุษ ผีอารักษ์ ผีบ้านผีเมือง ฯลฯ แต่ผีเสื้อที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ “เสื้อเมือง”
所以ผีเสื้อ 是一種非常多變的鬼,有老人樣的、祖先類的、負責守護的鬼、本土的鬼,但是最被人熟悉的一種就是เสื้อเมือง。

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的? 第3張

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า ความเชื่อเรื่องเสื้อเมืองทางอุบลราชธานี จะหมายถึง ผีเจ้าต้นสกุล ผู้บูรณะประดิษฐานบ้านเมือง อันเป็นผีบรรพบุรุษที่ปกปักษ์รักษาเมือง ในขณะที่ทางล้านนาเอง ก็มีความเชื่อเรื่องเสื้อเมืองเช่นกัน แต่ไม่ได้มีเฉพาะเสื้อเมืองอย่างเดียว มีเสื้อแยกย่อยอีกหลายประเภท เช่น เสื้อห้วย เสื้อหนอง เสื้อบ้าน เสื้อวัด ฯลฯ
丹龍·拉差努帕親王解釋 到了在烏汶府流傳的關於เสื้อเมือง的傳說,講到了Chao Ton Sakul是負責守護當地的鬼。在蘭納文化中,也有關於เสื้อเมือง的傳說,但是不僅僅是เสื้อเมือง這一種,還有很多種類的เสื้อ,比如เสื้อห้วย เสื้อหนอง เสื้อบ้าน เสื้อวัด等等。

เสื้อเมืองในทางล้านนามีหน้าที่รักษาเมือง ในวรรณกรรมตำนาน มักเรียกรวมกันว่าเสื้อบ้านเสื้อเมือง เวลาทำศึกสงคราม ก็มักกระทำพิธีพลีกรรมแก่เสื้อบ้านเสื้อเมือง บางครั้งก็กล่าวถึงอานุภาพของเสื้อบ้านเสื้อเมือง หากเซ่นไหว้บวงสรวงดีก็จะได้รับผลดี หากละเลยก็จะเกิดความวิบัติฉิบหาย (เสื้อเมืองของอาณาจักรอื่นหรือเมืองอื่น ๆ ก็มีลักษณะคติความเชื่อคล้ายคลึงกัน)
蘭納中的เสื้อเมือง有負責守護國家的職責,在文學作品中,經常將其稱爲เสื้อบ้านเสื้อเมือง,在打仗的時候,都會對這些鬼怪進行祭祀,如果祭拜得好。就會獲得好處,如果忽略了就會產生危害 (其他地方關於เสื้อเมือง也有類似的特徵)。

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的? 第4張

นอกจากนี้ ในทางล้านนา ผีเสื้อน่าจะเป็นผีที่มีอำนาจเทียบเท่า ยักขะ กุมภัณฑ์ คันธัพพะ และนาคา ซึ่งมีหน้าที่รักษาด่านสวรรค์ ดังมีบันทึกในคัมภีร์อรุณวดี ฉบับวัดมะกับตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ระบุให้ผีเสื้อรักษาด่านสวรรค์ชั้นที่ 5 เรียกได้ว่า ผีเสื้อเป็นผีพื้นเมืองมีศักดิ์ศรี และฐานะตำแหน่งเทียบเท่าอมนุษย์ในพุทธศาสนา แถมยังมีสิทธิ์ลงสระอโนดาตอีกด้วย
除此之外,在蘭納文 化中,ผีเสื้อ和夜叉、鳩盤荼、乾闥婆和那迦擁有一樣神力的鬼神,負責看守天堂的入口,於是在清邁訕巴東縣Wat Makaptong寺的Arunwadee經書中記載了,ผีเสื้อ看守着第五層天堂入口,是一個負責守護的鬼怪,在佛教中的地位與非人的等級一致,還有權利下到Anodat湖中。

เสื้อเมืองคงจะเป็นผีบรรพบุรุษที่ได้รับการสถาปนาให้รักษาเมืองมาแต่ดั้งเดิม ต่อมา เมื่อกระแสวัฒนธรรมและศาสนาจากอินเดียแผ่ปกคลุม เสื้อเมืองคงกลายรูปไปเป็นเทวดาอารักษ์ ซึ่งมีหน้าที่รักษาเมือง คล้ายเสื้อเมือง แต่หากพูดถึงอารักษ์มักอ้างถึงหรือเชื่อมโยงถึงพุทธศาสนามากกว่าc
เสื้อเมือง是一 種古老的負責守護國家的鬼,後來當印度的宗教和文化傳播開來的時候,เสื้อเมือง就有了固定的守護神形象,負責守護國家,當說到守護神的時候,經常會聯繫到佛教。

ส่วนเหตุที่เรียกสัตว์ปีกชนิดหนึ่งว่า “แมลงผีเสื้อ” นั้น เสฐียรโกเศศ หรือพระยาอนุมานราชธน ให้ความเห็นเอาไว้ว่า
我們把一類 帶翅膀的昆蟲稱爲“ผีเสื้อ”的原因,Phraya Anuman Rajadhon解釋道:

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的? 第5張

“…คราวนี้เรื่องผีเสื้อยังมีต่อไปว่า ทำไมเราเรียกแมลงชนิดหนึ่งว่า ผีเสื้อ จะเป็นคำเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ทำไมจึงเรียกแมลงชนิดนี้ว่า แมลงผีเสื้อ เพราะแมลงชนิดนี้ในคำเดิมเขาเรียกว่า ตัวเบื้อ หรือแมงเบื้อ 4 ใช้ว่า กะเบื้อ ก็มี เราเรียกสิ่งที่ประดับด้วยมุกและกระจกว่า มุกแกมเบื้อ เบื้อในที่นี้หมายเอากระจกเงา เห็นจะเป็นเพราะกระจกมีแสงและสีเลื่อมพรายเหมือนปีกของตัวเบื้อ จึงได้เอาชื่อนี้มาตั้งให้แก่กระจกว่าเบื้อ
“關於ผีเสื้อ還有要說的,爲什麼我們會把一種 昆蟲叫做‘ผีเสื้อ’呢?到底是不是同一個詞,如果是的話爲什麼要這麼叫呢?這種昆蟲以前人們將其稱爲‘ตัวเบื้อ’,也有叫‘กะเบื้อ’的,我們把一種用珍珠玻璃裝飾的東西稱爲‘มุกแกมเบื้อ’,‘เบื้อ’在這裏的意思就是玻璃的光影,因爲玻璃會反射光芒,就好像蝴蝶的翅膀一樣,所以把這種玻璃叫做‘เบื้อ’。”

 เกี่ยวกับเรื่องผีเสื้อนี้ ท่านผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า ท่านขึ้นไปโคราชคราวหนึ่ง ‘ได้เห็นที่ข้างทางในดงพระยาไฟ มีผีเสื้อมั่วสุมกันเป็นกลุ่ม ๆ เกาะอยู่ก็มาก บินโฉบฉายอยู่ก็มี ที่มันมั่วสุมอยู่นั้นอยู่ต่ำ ๆ นึกอยากรู้ว่ามันตอมอะไร แต่ไปรถไฟซึ่งไม่มีโอกาสจะลงตรวจดูได้ ครั้นไปถึงโคราชจึงถามเขา แต่ได้ความไปเสียทางหนึ่ง ว่าพวกโคราชกลัวผีเสื้อกันนัก ถือกันว่าผีเสื้อมั่วสุมกันอยู่ที่ไหน เป็นเครื่องหมายว่า ที่นั่นมีโรคภัยไข้เจ็บ คนเดินทางเห็นผีเสื้อเข้าที่ไหน ก็รีบเดินทางหนีไปเสียให้พ้น ไม่มีใครกล้าจะหยุดยั้ง โดยนัยนี้จะว่าผีเสื้อเป็นเชื้อผี คือ ผีเชื้อโรคได้บ้างกระมัง’
“關於蝴 蝶的故事,一位前輩曾經講過,他有一次去到呵叻,看到路邊叢林中有好幾處蝴蝶聚集在一起,飛着的也有,在低處想要聞什麼的也有,但是坐火車沒辦法下車看,當到了呵叻的時候就問別人,但是得到了負面的答案,呵叻人很害怕蝴蝶,認爲蝴蝶聚集在哪裏,就表示哪裏有疾病,走路的人在哪裏看到蝴蝶,就會遠離這個地方,沒有人敢停下來,這樣的話人們應該認爲蝴蝶是一種代表疾病的鬼怪吧!”

ที่ผีเสื้อมัวสุมจับกลุ่มกันในดง มีผู้บอกข้าพเจ้าว่า มันจับกลุ่มตอมกินน้ำค้าง และมีคติทางภาคอีสานว่า ถ้าผีเสื้อบินมามากเป็นกลุ่ม ๆ คือแสดงเป็นลางร้ายบอกให้รู้ว่าจะมีเหตุเภทภัย เช่นเกิดไข้เจ็บเป็นโรคระบาดขึ้น เป็นต้น ชาวอีสานจึงหวั่นหวาดเมื่อเห็นผีเสื้อจับกลุ่มกันมาก ๆ เพราะลักษณะเช่นนี้มักมีแต่ในป่าในดงซึ่งมีไข้ชุมยิ่งกว่าที่อื่น…”
“蝴蝶在 叢林中聚集,有人說它們是聚集在一起吸露水,在東北有傳說,當很多蝴蝶飛來的時候就預示着會發生災難,比如生病受傷等等,東北人看到很多蝴蝶會很害怕,因爲這種場景一般更容易發生在疾病本就更多的叢林中。”

【有聲】泰語大講堂:鬼+衣服=蝴蝶ผีเสื้อ到底是怎麼來的? 第6張

ทั้งนี้ คำว่า แมลงผีเสื้อ เป็นคำศัพท์ภาษากลาง เพราะทางภาคเหนือเรียก กำเบ้อ และทางภาคอีสานเรียก กะเบี้ย กะเบื้อ เหตุที่เรียกแมลงผีเสื้อว่าผีเสื้อนั้น จึงน่าจะสืบทอดแนวคิดมาจากความเชื่อที่ว่า “ผีเสื้อ” หรือวิญญาณของผู้ตาย จะสิงอยู่ในตัว “แมลงผีเสื้อ” นั่นเอง
總之,蝴蝶這個詞是中部方言,北部方言將其稱爲“กำเบ้อ”,東北話叫做“กะเบี้ย”或“กะเบื้อ”,至於將它叫做“ผีเสื้อ”,可能是認爲它們是死去人的靈魂,寄存在了蝴蝶的身上。

 

現在大家知道蝴蝶和“鬼”有什麼關係了嗎?

 

聲明:本文由本站泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。