當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 泰國人口語裏的“倒黴” 竟然也是借自中文的詞?

泰國人口語裏的“倒黴” 竟然也是借自中文的詞?

推薦人: 來源: 閱讀: 3.89K 次

泰語裏有一個詞,經常用在發牢騷或者對人、事物不滿意的時候,這個詞就是เฮงซวย,那大家知道爲什麼可以用這個詞來表達我們的負面情緒?這個詞又是來自哪裏呢?今天,我們就來帶大家學習一下這個口語中經常見到的詞彙!

泰國人口語裏的“倒黴” 竟然也是借自中文的詞?

คำศัพท์ “เฮงซวย” มาจากไหน? 
“เฮงซวย”這個詞哪 裏來?

การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันหรือในวาระอื่นๆ มีทั้งที่เป็นคำไทยแท้ และคำที่หยิบยืมมาจากภาษาอื่น ไม่ว่าจะเป็นเขมร บาลี สันสกฤต หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งในบรรดาคำที่หยิบยืมมาจากภาษาจีน นักวิชาการยอมรับกันว่า หยิบยืมมาจากจีนแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนมากกว่าที่อื่น และคำหนึ่งในกลุ่มนั้นก็คือ “เฮงซวย”
在日常生活或其他場 合使用泰語時,我們既有原汁原味的泰語詞彙,也有從其他語言借來的詞彙,包括高棉語、梵文、巴利文,甚至是英語和漢語。在漢語藉詞中,學者們普遍認爲主要來自潮汕話和福建話,其中一個例子就是“เฮงซวย”。

ด้วยลักษณะการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ผสมปนเปกันไปในหลายยุคสมัย สำหรับประเทศไทยก็มีชาวจีนเดินทางเข้ามามาก จากการศึกษาของ พรพรรณ จันทโรนานนท์ พบว่า ชาวจีนในประเทศไทย คือชาวจีนที่อพยพมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีน คือ มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหหลำ ชาวจีนเหล่านี้ได้แก่ชาวจีนกวางตุ้ง ชาวจีนแคะ (ฮากกา) ชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวจีนฮกเกี้ยน และชาวจีนไหหลำ รวม 5 กลุ่มภาษาใหญ่
由於人類自古以來的遷徙 特性,文化交流不可避免地在不同時期產生。對於泰國來說,也曾經有大量的中國移民涌入。根據Phornphan Jantharonanon的研究,泰國的華人主要來自中國南部的廣東、福建和海南等地區,包括廣東人、客家人、潮州人、福建人和海南人等五大語言羣體。

พวกที่เข้ามาในสมัยพระเจ้าตากสิน (พ.ศ. 2310-2325) จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2393-2411) ชาวจีนอพยพในช่วงนี้จะเป็นชาวจีนแต้จิ๋วเป็นส่วนใหญ่ เพราะพระเจ้าตากสินทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
在達信王 (1767-1782)至拉瑪四世(1850-1868年)的時期,中國移民主要以潮州華人爲主,因爲泰國達信大帝與中國潮州地區有着緊密的血緣聯繫。

ชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในไทยจะเข้ามากับเรือสินค้า และส่วนมากเป็นชาวจีนที่อาศัยทำกินอยู่ในดินแดนทางใต้แถบชายทะเลมาก่อน ต่อมาเมืองกวางโจวมีเมืองท่าใหม่แถบชายทะเลทางใต้ ยิ่งทำให้ดินแดนทางใต้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก จึงทำให้ชาวจีนกลุ่มภาษาต่างๆ อพยพออกนอกประเทศมากขึ้น (เกาะไหหลำเดิมอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล ในปี ค.ศ. 1988 (周敏  ; 1995 : 8-9)
最早期的華人移民進入泰國是通過商船,大多數定居在南部海濱地區。隨着廣州的發展,新的海港城市興起,使得南部沿海地區變得更爲重要,促使了更多的華人移民前往其 他國家,海南島原本隸屬於廣東省,在1988年被提升爲省級行政區(周敏  ; 1995 : 8-9)。

ในกลุ่มคำที่เกี่ยวกับความเชื่อ มีคำที่คนไทยน่าจะได้ยินบ่อยอันดับต้นๆ อย่าง “เฮงซวย” 興衰 เป็นภาษาพูดติดปาก ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่าหมายถึง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี เช่น “คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่องเฮงซวย”
在涉及信仰的詞彙 中,有一些詞語泰國人可能經常聽到,其中排名較高的就有“เฮงซวย”(興衰)。這個詞彙在口語中被廣泛使用,根據泰國皇家學術詞典1999年版本的解釋,它表示:不確切,質量低劣,不好。例如興衰之人,興衰之物,興衰之事。

ในคำอธิบายฉบับราชบัณฑิตยสถาน กำกับที่มาของคำว่า ในภาษาจีน คำว่า “เฮง” แปลว่า โชคดี “ซวย” แปลว่า เคราะห์ร้าย เฮงซวย ว่า ไม่แน่นอน”
在皇家學術詞典對於“เฮงซวย”一詞的解釋中,表明了這個詞借自中文。其中,“เฮง”被翻譯爲“โชคดี”(幸運),而“ซวย”則被翻譯爲“เคราะห์ร้าย”  不幸)。因此,“เฮงซวย”可以解釋爲“不確定”的含義。

ขณะที่ พิชณี โสตถิโยธิน บรรยายในบทความเรื่อง “คำยืมภาษาจีนแต้จิ๋วในภาษาไทย: ปรากฏการณ์ที่วงศัพท์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความหมาย” ในวารสารจีนศึกษา ฉบับที่ 5 ปีที่ 5 พ.ศ. 2555 ว่า คำว่า เฮงซวย ภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึง “โชคไม่ดี” จัดว่าอยู่ในวงศัพท์ความเชื่อ และเป็นวงศัพท์คุณลักษณะ พิชณี อธิบายว่า “เมื่อภาษาไทยยืมมาใช้ เกิดการย้ายที่ความหมายจากวงศัพท์ความเชื่อ ไปยังวงศัพท์คุณลักษณะ”
在《中文研究期刊》第5期第5卷(2012年)中的一篇名爲《泰語中的潮州話藉詞:詞彙語義變化現象》的文章中,作者Phitchani Sothityothin解釋了“เฮงซวย”一詞,指出,在潮州話中,“เฮงซวย”的意思是“โชคไม่ดี”(不幸運),被認爲屬於信仰詞彙,並演變成形容詞。Phitchani指出:“當泰語借用這個詞時,它從信仰詞彙的領域轉移到了形容詞的領域。”

อิทธิพลของชาวจีน (แต้จิ๋ว) นอกจากภาษาแล้ว พรพรรณ จันทโรนานนท์ ยังอธิบายว่า ชาวจีนแต้จิ๋ว ยังนำความรู้เรื่องการทำน้ำตาลทรายเข้าสู่เมืองไทยตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ การทำสวนผักอย่างเป็นล่ำเป็นสัน การทอผ้าด้วยกี่กระตุกของชาวจีนแคะ (ฮากกา) (แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย; 2538 : 27-28)
除了語言之外,Phitchani Sothityothin還解釋了潮州華人的影響力。她提到,潮州華人不僅帶入了語言,還在泰國曼谷王朝初期時代就帶來了有關製糖的技術,還有實實在在的蔬菜園藝知識,還包括客家人的織布機紡織傳統技藝(Saengarun Kanokphongchai; 2538 : 27-28)。

 

快去考考你的泰國朋友,看看他們知不知道這個詞到底來自哪裏!

 

聲明:本文由本站泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。